Apr 18, 2023
ทำความรู้จักรางเดินสายไฟแบบระบายอากาศก่อนติดตั้ง
รางเดินสายไฟ

หากถามถึงประเภทของรางสายไฟ หลัก ๆ จะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 รูปแบบ โดยแยกจากสถานที่การติดตั้ง แต่วันนี้เราจะมาเจาะลึกเพียงแค่รูปแบบเดียว นั่นก็คือ รางเดินสายไฟแบบระบายอากาศ ไปดูกันว่ามีลักษณะการติดตั้งอย่างไร ชนิดสายไฟและลักษณะการเดินสายไฟเป็นยังไง 

รางเดินสายไฟแบบระบายอากาศ คือ อะไร 

เป็นรางเดินสายไฟที่มีความพิเศษกว่ารางแบบอื่น ๆ คือ มีช่องระบายอากาศส่วนใหญ่ทำจากเหล็กพ่นด้วยสีอีพ็อกซีเพื่อกันสนิม เหมาะสำหรับการใช้งานในโรงงานและอาคารทั่วไป รวมถึงมีหลายขนาดให้เลือกตามลักษณะการใช้งาน วิธีการติดตั้งสามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้ 

  • เริ่มต้นจากการเลือกซื้อรางสายไฟที่มีคุณภาพ ลักษณะสมบูรณ์ ไม่บิดงอเสียรูป 
  • เลือกสถานที่ตั้งรางเดินสายไฟ ซึ่งต้องไม่มีปัจจัยใด ๆ ที่เสี่ยงทำให้อายุการใช้งานสั้นลง เช่น บริเวณที่แสงแดดส่องถึง บริเวณที่มีอุณหภูมิสูง 
  • วางรางสายไฟตาม layout ที่วางไว้และต่อกับหม้อแปลงไฟฟ้า MDB 
  • หากติดตั้งในอาคาร วัสดุที่ใช้ควรมีคุณสมบัติทนความร้อนและไม่ติดไฟด้วย 

นอกจากนั้น ยังมีให้เลือกถึง 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ Corrugate แบ่งออกเป็นแบบพ่นสีและแบบอาบสังกะสี และเคเบิ้ลแบบ Perforate 

ข้อดีของรางสายไฟแบบระบายอากาศ 

แน่นอนว่ารางเดินสายไฟถูกออกแบบมาสำหรับการเดินสายไฟโดยเฉพาะ แต่รางประเภทนี้จะมีข้อดีอย่างไรและโดดเด่นกว่าประเภทอื่น ๆ ยังไงไปดู 

1. ใช้ได้ทั้งภายนอกและภายในอาคาร  

เนื่องจากวัสดุมีช่องสำหรับระบายอากาศทำให้ทนต่อสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงปานกลางได้ดี แต่มีข้อด้อย คือ ไม่ทนฝน 

2. ทำจากวัสดุคุณภาพสูง  

สำหรับขั้นตอนกระบวนการผลิตรางไฟฟ้าจะทำจากเหล็กคุณภาพสูงที่ได้รับการออกแบบและผลิตด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้มั่นใจว่าตอบโจทย์การใช้งานได้จริง 

สายไฟที่เหมาะสำหรับการใช้รางสายไฟแบบระบายอากาศ 

หลัก ๆ สายไฟที่ใช้กับรางเดินสายไฟระบายอากาศมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 5 ชนิด ดังนี้ 

  • สายดินทุกขนาด 
  • สายเคเบิลหลายแกนในระบบแรงดันสูงและระบบแรงดันต่ำทุกขนาด 
  • สายเคเบิ้ลแกนเดียว ชนิดที่มีเปลือกนอกทั้งในระบบแรงสูงและแรงต่ำขนาดไม่เล็กกว่า 25 ตารางเมตร 
  • สายเคเบิ้ลชนิด mi MC และ AC 
  • สายชนิดหลายแกนในงานควบคุมสัญญาณและไฟฟ้ากำลัง 

หวังว่าหลายคนจะเข้าใจมากขึ้นว่ารางเดินสายไฟแบบระบายอากาศนั้นมีข้อดียังไงและมีลักษณะการติดตั้งแบบไหน บอกเลยว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกดี ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการอุปกรณ์ป้องกันการรั่วไหลของไฟฟ้าภายในและภายนอกอาคารได้แน่นอน แต่ก่อนติดตั้งขอเน้นย้ำอีก 1 รอบ คือ ติดตั้งตามมาตรฐาน 3 แบบ ได้แก่ วางเรียงชิดติดกัน วางชั้นเว้นชั้น หรือเดินแบบสามเหลี่ยม และตรวจสอบสภาพพื้นที่ก่อนเสมอ 

More Details